วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

เสือปลา "Fishing Cat"

เสือปลา "Fishing Cat"
                                                                                          

พฤติกรรม           สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ ปีนต้นไม้ได้ 
                        เช่นเดียวกับแมวป่าชนิดอื่นๆ
                        เท้าหน้าของเสือปลามีพังผืดยึดระหว่างนิ้ว 
                        ช่วยให้ว่ายน้ำได้คล่องแคล่วขึ้น
ที่อยู่อาศัย          ป่าละเมาะ ใกล้แหล่งน้ำป่าชายเลน ป่าพรุ 
                        และป่าเสื่อมโทรมใกล้ชุมชน
การขยายพันธุ์     ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปี ระยะตั้งท้อง 2 เดือน  
                        ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว
                        ลูกเสือจะแยกออกหากินตามลำพังเมื่ออายุประมาณ 10 เดือ
                        อายุยืน 20 ปี
อาหาร               ปลา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอื่นๆ
สถานภาพ          สัตว์ป่าคุ้มครอง


ขอบคุณที่มา : สวนสัตว์เขาดิน


วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

ม้าลาย "Zebra"

ม้าลาย "ZEBRA"








พฤติกรรม          อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีหลายร้อยจนถึงเป็นพันตัว             
                       โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง สายตาไม่ดี แต่จมูกและหูไวมาก
                       ในบางครั้งพบอาศัยอยู่ร่วมกับ นกกระจอกเทศ ยีราฟ
ที่อยู่อาศัย         ทุ่งหญ้า
การขยายพันธุ์    ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 3 ปี ระยะตั้งท้องประมาณ 1 ปี
                       ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืน 20 ปี
อาหาร              หญ้า และเมล็ดพืช
สถานภาพ          มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์น้อย                     
                       ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN RED LIST 2008)

ข้อมูลที่มา : สวนสัตว์เขาดิน

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

เมียร์แคท "MEERKAT"

เมียร์แคท "MEERKAT"
                                                                          
พฤติกรรม            มีนิสัยซุกซน ขี้สงสัย และหวาดระแวง 
                         มักอาศัยรวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีมากถึง 30 ตัว
ที่อยู่อาศัย           พื้นที่เปิดโล่ง ทุ่งหญ้าแห้งแล้ง
การขยายพันธุ์      ผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 1 ปี ระยะตั้งท้อง 3 เดือน
                         ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว  จะออกลูกตามโพรงดิน
                         สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี อายุยืน 10 ปี
อาหาร                 แมลง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก
                         บางครั้งอาจกินสัตว์เลื้อยคลานและนกด้วย
สถานภาพ            มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์น้อย 
                         ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN Read List 2008)

ขอบคุณที่มา :  สวนสัตว์เขาดิน

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

นกกระเรียนหัวมงกุฎดำ "Black Crowned Crane"

นกกระเรียนหัวมงกุฎดำ
Black Crowned Crane                                                     



ถิ่นกำเนิด            บริเวณตอนกลางของทวีปแอฟริกา
พฤติกรรม           ชอบอยู่พื้นที่ชุ่มน้ำ ทุ่งหญ้า มีการส่งเสียงร้อง
                          เพื่อประกาศอาณาเขต  เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมี
                          การเต้นระบำเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม  เมื่อจับคู่
                          แล้วจะไม่เปลี่ยนคู่ ทำรังเป็นรูปทรงกลมบริเวณ
                          ใกล้แหล่งน้ำโดยใช้เศษหญ้า และเศษกิ่งไม้
การขยายพันธุ์     ตัวเมียวางไข่ 2-5 ฟอง ตัวผู้ และตัวเมียช่วยกัน
                          กกไข่ประมาณ 28-31 วัน
อาหาร                 ยอดหญ้า แมลง เมล็ดพืช สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
สถานภาพ            เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์







ข้อมูลที่มา : สวนสัตว์เขาดิน

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

มังกรโคโมโด "Komodo Dragon"

                                          
มังกรโคโมโด "Komodo Dragon"
Varanus komodoensis

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ Scientific Classification

ชั้น :          สัตว์เลื้อยคลาน                            ขนาด :
อันดับ :      กิ้งก่า และงู                                เพศผู้ประมาณ  3 เมตร
วงศ์ :         เหี้ย                                          เพศเมียประมาณ 2.4 เมตร
สกุล :        เหี้ย                                          น้ำหนัก 70-150 กิโลกรัม
ชนิด :        โคโมโด                                     ช่วงอายุ มากกว่า  50 ปี
                                                               จำนวนไข่ 15-20 ฟอง
                                                                ระยะฟักไข่  8-9 เดือน
                                                               วัยเจริญพันธุ์  5-10 ปี

          กิ้งก่าส่วนใหญ่ กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร แต่สำหรับมังกรโคโมโด
เนื้อสัตว์เท่านั้นที่พวกมันแสวงหา มังกรโคโมโดมีประสาทในการรับกลิ่น
และแยกกลิ่นดีมาก มันสามารถรับกลิ่นได้ไกลเป็นกิโลเมตร  พวกมันไม่เคย
จู้จี้เรื่องอาหาร มันกินทั้งหมูป่า กวาง ควายป่า งู และปลาที่ถูกพัดขึ้นมาตามชายฝั่ง
เวลาออกล่ามันมักจะใช้วิธีซุ่มดักเหยื่ออยู่ตามทางเดินของสัตว์มากกว่า และรอ
จนกระทั่งเหยื่อเข้ามาใกล้ มันจะจู่โจมด้วยฟันที่คมกริบ และเล็บโค้งที่แข็งแกร่ง
มีบางครั้งที่มังกรโคโมโดล้มเหยื่อไม่ได้ในการล่าครั้งเดียว เหยื่ออาจหนีรอดจาก
กรงเล็บของมันไปได้ แต่ถ้าหากเหยื่อถูกกัดแล้ว ก็จะไม่อาจรอดไปได้  เนื่องจาก
ในน้ำลายของโคโมโดนั้นมีแบคทีเรียมากกว่าห้าสิบชนิด เหยื่อที่ถูกกัดจะเกิดอาการ
เลือดเป็นพิษ มังกรโคโมโดเพศเมียสามารถวางไข่ และฟักเป็นตัวได้  โดยไม่ต้อง
ผสมพันธุ์กับเพศผู้  มังกรโคโมโดจัดเป็นสัตว์ที่มีสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจาก
จำนวนผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะเพิ่มขึ้น เหยื่อของมันถูกล่าจนลดน้อยลง

Fun Facts
มีกิ้งก่ามากกว่า 3,000 ชนิด  มังกรโคโมโดจัดเป็นกิ้งก่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
มังกรโคโมโดมีฟัน 60 ซี่  ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการตัดและฉีก
มังกรโคโมโดมีฟัน 4-5 ชุด ตลอดช่วงชีวิตของมัน
มังกรโคโมโดสามารถกินอาหารได้มากถึง 80% ของน้ำหนักตัวต่อมื้อ

ขอบคุณข้อมูลที่มา :  สวนสัตว์เขาดิน




วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

กระรอก "Squirrels"

กระรอก "Squirrels"
       สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่งทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ 
หางเป็นพวงพู่ จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ  เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก 
อาหารของกระรอก คือ ผลไม้ เมล็ดพืช และแมลง                                                        

เรื่องราวน่ารู้ของกระรอก

1. กระรอกต้นไม้ ตัวผู้เป็นสัตว์ที่สะอาดที่สุดในบรรดาสัตว์ฟันแทะ
    และใช้เวลาเป็น 2 เท่าของตัวเมียในการทำความสะอาดร่างกาย
2. ฟันหน้าของกระรอกเติบโตอยู่ตลอดเวลา ในรอบปีฟันหน้าอาจยาวได้ถึง 6 นิ้ว
    แต่การใช้งานทำให้ฟันสั้นลง  ซึ่งจะสัมพันธ์กับกรามที่ทรงพลังที่สุดในบรรดาสัตว์
3. ระหว่างฤดูหนาวที่หนาวเย็นกระรอกจะไม่ออกมาจากรังเป็นเวลาหลายวัน
    โดยกินอาหารที่สะสมไว้ในช่วงหน้าร้อน และไม่มีการจำศีล
4. กระรอกกินอาหารมากกว่าน้ำหนักตัวทุกๆ สัปดาห์
5. กระรอกมีสมองเท่าผลวอลนัท

 

ขอบคุณข้อมูลที่มา :  สวนสัตว์เขาดิน


วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

กวางดาว

 
 กวางดาว (Spotted Deer, Axis Deer, Axis axis)                                                                                   
ลักษณะ             เป็นกาวางขนาดกลาง มีจุดสีขาวเรียงเป็นลายข้างตัว                     
                       มีเฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่มีเขา  เป็นสัตว์ชนิดแรกที่นำมาเลี้ยง
                        ในสวนสัตว์ดุสิต 

นิสัย                  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตามทุ่งหญ้าโล่งหรือป่าโปร่ง 
                        สามารถว่ายน้ำได้ดี

การสืบพันธุ์         ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงต้นฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 7-8 เดือน  ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
                        มีอายุเฉลี่ยในสวนสัตว์ 20 ปี 

ขอบคุณข้อมูลที่มา :  สวนสัตว์เขาดิน