วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

เสือปลา "Fishing Cat"

เสือปลา "Fishing Cat"
                                                                                          

พฤติกรรม           สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ ปีนต้นไม้ได้ 
                        เช่นเดียวกับแมวป่าชนิดอื่นๆ
                        เท้าหน้าของเสือปลามีพังผืดยึดระหว่างนิ้ว 
                        ช่วยให้ว่ายน้ำได้คล่องแคล่วขึ้น
ที่อยู่อาศัย          ป่าละเมาะ ใกล้แหล่งน้ำป่าชายเลน ป่าพรุ 
                        และป่าเสื่อมโทรมใกล้ชุมชน
การขยายพันธุ์     ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปี ระยะตั้งท้อง 2 เดือน  
                        ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว
                        ลูกเสือจะแยกออกหากินตามลำพังเมื่ออายุประมาณ 10 เดือ
                        อายุยืน 20 ปี
อาหาร               ปลา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอื่นๆ
สถานภาพ          สัตว์ป่าคุ้มครอง


ขอบคุณที่มา : สวนสัตว์เขาดิน


วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

ม้าลาย "Zebra"

ม้าลาย "ZEBRA"








พฤติกรรม          อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีหลายร้อยจนถึงเป็นพันตัว             
                       โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง สายตาไม่ดี แต่จมูกและหูไวมาก
                       ในบางครั้งพบอาศัยอยู่ร่วมกับ นกกระจอกเทศ ยีราฟ
ที่อยู่อาศัย         ทุ่งหญ้า
การขยายพันธุ์    ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 3 ปี ระยะตั้งท้องประมาณ 1 ปี
                       ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืน 20 ปี
อาหาร              หญ้า และเมล็ดพืช
สถานภาพ          มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์น้อย                     
                       ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN RED LIST 2008)

ข้อมูลที่มา : สวนสัตว์เขาดิน

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

เมียร์แคท "MEERKAT"

เมียร์แคท "MEERKAT"
                                                                          
พฤติกรรม            มีนิสัยซุกซน ขี้สงสัย และหวาดระแวง 
                         มักอาศัยรวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีมากถึง 30 ตัว
ที่อยู่อาศัย           พื้นที่เปิดโล่ง ทุ่งหญ้าแห้งแล้ง
การขยายพันธุ์      ผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 1 ปี ระยะตั้งท้อง 3 เดือน
                         ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว  จะออกลูกตามโพรงดิน
                         สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี อายุยืน 10 ปี
อาหาร                 แมลง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก
                         บางครั้งอาจกินสัตว์เลื้อยคลานและนกด้วย
สถานภาพ            มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์น้อย 
                         ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN Read List 2008)

ขอบคุณที่มา :  สวนสัตว์เขาดิน

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

นกกระเรียนหัวมงกุฎดำ "Black Crowned Crane"

นกกระเรียนหัวมงกุฎดำ
Black Crowned Crane                                                     



ถิ่นกำเนิด            บริเวณตอนกลางของทวีปแอฟริกา
พฤติกรรม           ชอบอยู่พื้นที่ชุ่มน้ำ ทุ่งหญ้า มีการส่งเสียงร้อง
                          เพื่อประกาศอาณาเขต  เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมี
                          การเต้นระบำเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม  เมื่อจับคู่
                          แล้วจะไม่เปลี่ยนคู่ ทำรังเป็นรูปทรงกลมบริเวณ
                          ใกล้แหล่งน้ำโดยใช้เศษหญ้า และเศษกิ่งไม้
การขยายพันธุ์     ตัวเมียวางไข่ 2-5 ฟอง ตัวผู้ และตัวเมียช่วยกัน
                          กกไข่ประมาณ 28-31 วัน
อาหาร                 ยอดหญ้า แมลง เมล็ดพืช สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
สถานภาพ            เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์







ข้อมูลที่มา : สวนสัตว์เขาดิน

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

มังกรโคโมโด "Komodo Dragon"

                                          
มังกรโคโมโด "Komodo Dragon"
Varanus komodoensis

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ Scientific Classification

ชั้น :          สัตว์เลื้อยคลาน                            ขนาด :
อันดับ :      กิ้งก่า และงู                                เพศผู้ประมาณ  3 เมตร
วงศ์ :         เหี้ย                                          เพศเมียประมาณ 2.4 เมตร
สกุล :        เหี้ย                                          น้ำหนัก 70-150 กิโลกรัม
ชนิด :        โคโมโด                                     ช่วงอายุ มากกว่า  50 ปี
                                                               จำนวนไข่ 15-20 ฟอง
                                                                ระยะฟักไข่  8-9 เดือน
                                                               วัยเจริญพันธุ์  5-10 ปี

          กิ้งก่าส่วนใหญ่ กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร แต่สำหรับมังกรโคโมโด
เนื้อสัตว์เท่านั้นที่พวกมันแสวงหา มังกรโคโมโดมีประสาทในการรับกลิ่น
และแยกกลิ่นดีมาก มันสามารถรับกลิ่นได้ไกลเป็นกิโลเมตร  พวกมันไม่เคย
จู้จี้เรื่องอาหาร มันกินทั้งหมูป่า กวาง ควายป่า งู และปลาที่ถูกพัดขึ้นมาตามชายฝั่ง
เวลาออกล่ามันมักจะใช้วิธีซุ่มดักเหยื่ออยู่ตามทางเดินของสัตว์มากกว่า และรอ
จนกระทั่งเหยื่อเข้ามาใกล้ มันจะจู่โจมด้วยฟันที่คมกริบ และเล็บโค้งที่แข็งแกร่ง
มีบางครั้งที่มังกรโคโมโดล้มเหยื่อไม่ได้ในการล่าครั้งเดียว เหยื่ออาจหนีรอดจาก
กรงเล็บของมันไปได้ แต่ถ้าหากเหยื่อถูกกัดแล้ว ก็จะไม่อาจรอดไปได้  เนื่องจาก
ในน้ำลายของโคโมโดนั้นมีแบคทีเรียมากกว่าห้าสิบชนิด เหยื่อที่ถูกกัดจะเกิดอาการ
เลือดเป็นพิษ มังกรโคโมโดเพศเมียสามารถวางไข่ และฟักเป็นตัวได้  โดยไม่ต้อง
ผสมพันธุ์กับเพศผู้  มังกรโคโมโดจัดเป็นสัตว์ที่มีสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจาก
จำนวนผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะเพิ่มขึ้น เหยื่อของมันถูกล่าจนลดน้อยลง

Fun Facts
มีกิ้งก่ามากกว่า 3,000 ชนิด  มังกรโคโมโดจัดเป็นกิ้งก่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
มังกรโคโมโดมีฟัน 60 ซี่  ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการตัดและฉีก
มังกรโคโมโดมีฟัน 4-5 ชุด ตลอดช่วงชีวิตของมัน
มังกรโคโมโดสามารถกินอาหารได้มากถึง 80% ของน้ำหนักตัวต่อมื้อ

ขอบคุณข้อมูลที่มา :  สวนสัตว์เขาดิน




วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

กระรอก "Squirrels"

กระรอก "Squirrels"
       สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่งทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ 
หางเป็นพวงพู่ จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ  เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก 
อาหารของกระรอก คือ ผลไม้ เมล็ดพืช และแมลง                                                        

เรื่องราวน่ารู้ของกระรอก

1. กระรอกต้นไม้ ตัวผู้เป็นสัตว์ที่สะอาดที่สุดในบรรดาสัตว์ฟันแทะ
    และใช้เวลาเป็น 2 เท่าของตัวเมียในการทำความสะอาดร่างกาย
2. ฟันหน้าของกระรอกเติบโตอยู่ตลอดเวลา ในรอบปีฟันหน้าอาจยาวได้ถึง 6 นิ้ว
    แต่การใช้งานทำให้ฟันสั้นลง  ซึ่งจะสัมพันธ์กับกรามที่ทรงพลังที่สุดในบรรดาสัตว์
3. ระหว่างฤดูหนาวที่หนาวเย็นกระรอกจะไม่ออกมาจากรังเป็นเวลาหลายวัน
    โดยกินอาหารที่สะสมไว้ในช่วงหน้าร้อน และไม่มีการจำศีล
4. กระรอกกินอาหารมากกว่าน้ำหนักตัวทุกๆ สัปดาห์
5. กระรอกมีสมองเท่าผลวอลนัท

 

ขอบคุณข้อมูลที่มา :  สวนสัตว์เขาดิน


วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

กวางดาว

 
 กวางดาว (Spotted Deer, Axis Deer, Axis axis)                                                                                   
ลักษณะ             เป็นกาวางขนาดกลาง มีจุดสีขาวเรียงเป็นลายข้างตัว                     
                       มีเฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่มีเขา  เป็นสัตว์ชนิดแรกที่นำมาเลี้ยง
                        ในสวนสัตว์ดุสิต 

นิสัย                  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตามทุ่งหญ้าโล่งหรือป่าโปร่ง 
                        สามารถว่ายน้ำได้ดี

การสืบพันธุ์         ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงต้นฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 7-8 เดือน  ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
                        มีอายุเฉลี่ยในสวนสัตว์ 20 ปี 

ขอบคุณข้อมูลที่มา :  สวนสัตว์เขาดิน

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558


นกเพนกวินฮัมโบลด์ (Humboldt Penguin)
ขนาด         35-45 กิโลกรัม
ช่วงอายุ      ประมาณ 20 ปี, ในกรงเลี้ยงอาจมากถึง 30 ปี
จำนวนไข่    วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง  ระยะฟักไข่ประมาณ 40-42 วัน


เพนกวินในทะเลทราย ??? (Penguins, in the desert?)

     นกเพนกวินส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็น  แต่นกเพนกวินฮ้มโบลด์
แตกต่างออกไป  พวกมันอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลทรายของประเทศเปรู
และชีลีในอเมริกาใต้  ซึ่งเป็นแนวชายฝั่งที่ได้ชื่อว่าแห้งแล้งที่สุด (บางพื้นที่ไม่มีฝนตก
นานถึง 20 ปี) มาบรรจบกับมหาสมุทรที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุด

วิกฤติเพนกวิน (Penguins in peril)
     นกเพนกวินฮัมโบลด์กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่  เนื่องจากการเก็บมูลเพนกวินทำให้รังของพวกมันลดลง
ซึ่งหมายถึงจำนวนของนกเพนกวินฮัมโบลด์ก็จะลดลงด้วย  นอกจากนี้บางคนยังเก็บไข่นกไปกิน และถึงแม้ว่า
พวกมันจะเชี่ยวชาญในการหาปลา แต่นกเพนกวินเหล่านี้ก็พ่ายแพ้ให้กับอุตสาหกรรมประมง  ซึ่งบางครั้งพวกมัน
ก็ว่ายไปติดกับแห หรือตาข่ายจับปลา

วิศัตรูร้าย... ที่คาดไม่ถึง (Unexpected enemy)
     เมื่อไม่นานมานี้  เพนกวินฮัมโบลด์ต้องเจอกับกองทัพหนูตัวใหญ่ที่บุกกินไข่ และเพนกวินแรกเกิดจำนวนมาก
หนูขนาดใหญ่ที่ตัวยาวถึง 20 เซนติเมตร  ซึ่งหลุดมาจากรีสอร์ท และเรือยอชต์ของเศรษฐี
     ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้วพบว่า หนูบุกทำลายไข่นกเพนกวินไปมากถึง 70% ภายในเวลา 12 ชั่วโมง เท่านั้น
ซึ่งหากไม่เร่งกำจัดหนูเหล่านี้  อาจทำให้เพนกวินฮัมโบลด์สูญพันธ์ุได้

ขอบคุณข้อมูลที่มา : สวนสัตว์เขาดิน